Tuesday, December 6, 2011

เก็บเงินคืนจากภาษี ด้วย LTF และ RMF


เก็บเงินคืนจากภาษี ด้วย LTF และ RMF


          ก่อนจะเข้าเรื่องต้องขอ เกรินนำสักหน่อย กล่าวคือ บุคคลธรรมดา , ห้างหุ้นส่วน , บริษัท หรือผู้มีรายได้ จะต้องเสียภาษีให้กับทางภาครัฐ รวมถึงผู้ที่ได้รับมรดก แต่กฎหมายก็ได้ให้ข้อยกเว้นหลายอย่าง เพื่อให้ ผู้เสียภาษี สามารถนำมาลดหย่อนได้ นี่ก็คือประเด็นหลักที่ทำให้ผมนำเรื่องนี้มาแชร์ เพื่อให้เพื่อนๆ  เก็บเงินคืนจากภาษี ได้จากทางใดบ้างในช่วงนี้ ก็จะเริ่มจากความหมายของ LTF และ RMF ก่อน

LTF  กองทุนรวมหุ้นระยะยาว

            กองทุนนี้จะนำเงินของผู้ซื้อหน่วยลงทุนไปลงทุนใน หุ้นสามัญที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ อย่างน้อย 65% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ จะต้องลงทุน 5 ปี ปฏิทิน  และสามารถขายหน่วยลงทุนได้ ปีละ 2 ครั้ง แต่จะซื้อกี่ครั้งใน 1 ปี ก็ได้

RMF กองทุนเพื่อการเกษียรอายุ

              กองทุนนี้จะนำเงินของผู้ซื้อหน่วยลงทุนไปลงทุน ในสินทรัพย์ หลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นหุ้นสามัญ พัธบัตร ฝากธนาคาร ตั๋วแลกเงิน ทองคำ อื่นๆ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกองทุน การลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท ไม่เกิน 500,000 บาท ต่อปี หรือ 15% ของรายได้ทั้งปี และต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี จนกว่าอายุเราจะถึง 55 ปี  ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ไม่อนุญาติให้โอนและจำนำหน่วยลงทุนได้  (สามารถให้ ลงทุน ปี เว้น ปี ได้) จึงจะสามารถไถ่ถอนได้ เงื่อนไขอีกข้อหนึ่ง คือ หากมีการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนกำหนด จะโดนเรียกภาษีที่เคยหักลดหย่อนไปแล้วคืน 5 ปี ปฏิทินย้อนหลัง การลงทุน RMF จะไม่มีการจ่ายเงินปันผล ผลประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนจะทบ รวมเข้าไปในกองทุน และจะได้คืนทั้งหมดเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ข้อดีของ RMF คือสามารถ สับเปลี่ยนกอง ที่ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายมากกว่า LTF  

เงื่อนไขในการเก็บเงินคืนจากภาษี

การซื้อหน่วยลงทุน LTF เราสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษี ได้ แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้รวม และไม่เกิน 500,000 บาท รวมทั้ง ห้ามขายออกเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี กองทุนที่ซื้อแล้วได้หักภาษีต้องเป็นกองทุนที่จัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนภายในเดือน มิ.ย. 2550 และต้องมีอายุกองทะนไม่ต่ำกว่า 10 ปี

          การซื้อหน่วยลงทุน RMF เราสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษี ได้ แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้รวม และไม่เกิน 500,000 บาท รวมทั้ง ห้ามขายออกเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และห้ามไถ่ถอนการลงทุน ก่อนอายุ 55 ปี

            การซื้อหน่วยลงทุน LTF นั้นไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องติดต่อกันทุกปี จะซื้อปี เว้นปี ก็ได้แต่จะต้องซื้อภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2559 เท่านั้น

การซื้อหน่วยลงทุน RMF นั้นไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องติดต่อกันทุกปี จะซื้อปี เว้นปี ก็ได้แต่ไม่สามารถไถ่ถอนการลงทุน ก่อนอายุ 55 ปี

            การไถ่ถอน LTF สามารถทำได้ปีละ 2 ครั้ง แต่จะซื้อกี่ครั้งก็ได้ จะซื้อเฉลี่ยทุกเดือนก็ได้  

การโอนย้ายการลงทุน RMF (ย้ายกอง) สามารถทำได้ กี่ครั้งก็ได้ จะซื้อเฉลี่ยทุกเดือนก็ได้  แต่ไถ่ถอนไม่ได้ เพราะจะถูกคิดภาษีที่ได้หักลดหย่อนคืน

การซื้อ  LTF มีจุดเด่นตรงระยะเวลาการถือครองกองทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี ส่วนนี้นับจากปีหฏิทิน เพราะไม่ว่าจะซื้อวันไหน ในปีนั้นๆ ก็ถือว่าได้ถือหน่วยลงทุนมาแล้ว 1 ปี

ตัวอย่างใช้เทคนิคซื้อ LTF   ถ้าเราซื้อหน่วยลงทุนในวันที่ 30 ธ.ค. 2554 เราสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ในปีเดียวกันที่กำหนดให้ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2555 และนับเป็นการลงทุนแรกเลย จากนั้นถือหน่วยลงทุนเก็บไว้ ในปี 2555 จะเป็นปีที่ 2 ที่ถือหน่วยลงทุน ต่อมาในปี 2558 เมื่อเปิดทำการวันแรกก็ขายหน่วยลงทุนออกไปได้เลยเท่ากับว่าเราถือหน่วยลงทุนสุทธิแค่ 3 ปี 2 วัน เท่านั้น


ตัวอย่าง การลงทุนใน LTF  หรือ RMF ปีละ 200,000 บาท แต่ถ้าเราเสียภาษี ในอัตรา 20% เราจะได้เงินคืน 40,000 บาท เมื่อครบกำหนดในปีที่ 5 เมื่อเงินก้อนเดิมที่ได้ทั้งหมดไปลงทุนต่ออีก ถ้าเราทำแบบนี้ สัก 5 ปี เราจะได้ภาษีคืน (40,000 X 5 = 200,000) บาททีเดียว ** หมายเหตุ LTF+RMF ต้องไม่เกิน 15%  ของรายได้ และไม่เกิน 500,000 บาท

การซื้อ  RMF มีจุดเด่นตรงที่ สามารถเปลี่ยน กองทุนให้เหมาะสมกับสถาณการณ์ ได้เรื่อยๆ และ กองทุนแต่ละกองลงทุนในสินทรัพย์ ที่แตกต่างกัน

เคล็ดลับการซื้อกองทุนรวม

            ก่อนจะซื้อกองทุนรวม LTF  เพื่อลดหย่อนภาษี ควรดู ฐานภาษี ของเราก่อนว่า อยู่ที่ เท่าไร 30% ,20% , 10%  สมมุติว่าเรามีฐานภาษีที่ 10% และคาดว่าตลาดหุ้นจะตงลงไป 10% ก็ไม่ควรซื้อกองทุนรวม LTF เพื่อลดหย่อนภาษี แต่ถ้าฐานภาษี อยู่สูงกว่าก็ซื้อได้ เพราะจะมีส่วนกำไรจากภาษีอยู่  ที่สำคัญ คือไม่ควรลงทุนเกินสิทธิที่จะได้รับการลดหย่อนภาษีเพราะจะเสียโอกาส

0 comments:

Post a Comment